Blog

ลอยกระทงอย่างไร ไม่เป็นภาระพระแม่คงคา

by in บทความ 11/11/2019

ในปี 2561 กทม. สามารถเก็บกระทงในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ถึง 841,327 ใบ และคาดว่ามีขยะกระทงในแม่น้ำปิงกว่า 100 ตัน ทำให้ขยะล้น และในปี 2562 นี้ PWP Thailand ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ เพื่อลดปริมาณขยะและร่วมอนุรักษ์แม่น้ำอย่างแท้จริง ลอยกระทงอย่างไร ไม่เป็นภาระพระแม่คงคา

1. กระทงน้ำแข็ง

ถือเป็นกระทงที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด เพราะน้ำแข็งสามารถละลายได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จึงไม่ก่อให้เกิดขยะ และไม่ต้องเสียเวลากำจัด

2. หนึ่งบ้าน หนึ่งกระทง

บางบ้านอาจจะต้องการใช้กระทงแบบเดิม ตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ด้วยกระทงแบบเดิมนั้นยังย่อยสลายได้ยากอยู่แต่หาซื้อง่ายตามท้องตลาด รวมกันลอยพร้อมกันทั้งบ้าน ใช้เพียงกระทงเดียวจะช่วยลดปริมาณได้ไม่มากก็น้อย

3. งดกระทงขนมปัง

กระทงขนมปังอาจจะฟังดูดี และย่อยสลายได้ง่าย แต่หากมันมีปริมาณที่มากเกินไป ปลาหรือเต่าในน้ำก็อาจจะกินไม่ทัน ขนมปังเหลือลอยตุ๊บป่องในน้ำจนเกิดเน่าเสียได้

4. ลอยในระบบปิด

ลอยในแหล่งน้ำที่เราควบคุมเองได้ง่ายๆ เช่น ในสระน้ำ บ่อน้ำ ตามสถานที่ต่างๆที่ทางการจัดให้สามารถลอยได้ เราสามารถควบคุมจัดการเก็บทิ้งได้ จะได้ไม่กระทบกับระบบน้ำใหญ่ตาม แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ

5. ลอยออนไลน์ไปเลย

ง่ายและสะดวกรวดเร็วไม่เป็นมลพิษและประหยัดงบประมาณในกระเป๋าด้วย แถมยังสามารถลอยได้ทุกที่ทุกเวลา หรือจะไปยืนริมน้ำแล้วลอยผ่านแอพก็ได้ไม่มีใครว่า

6.ไม่ลอย!!

หากเจตนาของการลอยกระทงนั้นเพื่อเป็นการขอบคุณและขอขมาแม่น้ำคงคาที่เราได้ใช้น้ำชำระล้างสิ่งต่างๆลงไปอย่างมากมายแล้วนั้น เราสามารถที่จะทดแทนคุณแม่น้ำได้โดยไม่ทิ้งขยะและสิ่งต่างๆลงแม่น้ำเพิ่มต่อไปอีก

ทีนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าวัสดุแต่ละอย่างในกระทงนั้นใช้เวลาย่อยสลายนานขนาดไหน

วัสดุ ระยะเวลาย่อยสลาย
โฟม ไม่ย่อยสลาย
ใบตอง – กล้วย – ดอกไม้ 14 วัน
ธูป 14 วัน
เทียน 14 วัน
หนังยาง 400 ปี
เล็บ, ผม 1 ปี
กระดาษ 2-5 เดือน
เส้นด้าย 1-5 เดือน
แม็กเย็บกระดาษ 100 ปี
เหรียญ 100 ปี

 

ลอยกระทงปี 2562 นี้ แอดหวังว่าเพื่อนๆ จะช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ให้พระแม่คงคาอยู่กับเราไปนานๆนะคะ ^^

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://bit.ly/35HkZyE และ http://bit.ly/2Pfkrdr

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *